องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย โทร.053-781955,053-648856
หน้าแรกเว็บไซต์
ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ อบต.เวียง
ทำเนียบผู้บริหาร
ผู้บริหารฝ่ายข้าราชการ
สมาชิกสภา อบต.
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษาฯ
หน่วยตรวจสอบภายใน
ภาษี
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประมูล จัดซื้อ จัดจ้าง
เว็บบอร์ด พูดคุย
ติดต่อ อบต.เวียง
แบบสอบถามความพึงพอใจ
สถานที่พักในตำบล
** ภูน้ำใสรีสอร์ท
** ระเบียงดอย โฮมสเตย์
 
แหล่งท่องเที่ยว
วัดอรัญญวิเวกคีรี
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ
 
แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น
 
ฐานข้อมูลตลาด
แบบสำรวจตลาด
 
ข้อมูลลานกีฬา/ในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน
สนามกีฬา
 
แผนพัฒนาท้องถิ่น
ข้อบัญญัติงบประมาณ
แผนการดำเนินงาน
รายงานการติดตาม และประเมินผลแผน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา
 
 

 
 
 
 
 
 
รับทำเว็บไซต์ ทุกประเภท  จดโดเมนเนม เช่าโฮสติ้ง >> เชียงราย เอ็นเทอร์ ซอฟต์  โทร. 087-1843622
แผนที่เชียงราย GIS Map
Untitled Document
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง
 
ข้อมูลทั่วไป

ตำบลเวียง เป็นตำบลที่เกิดขึ้นพร้อมกับกิ่งอำเภอเวียงป่าเป้า เมื่อ พ.ศ. 2446 คำว่า“เวียง” ตามภาษาล้านนา แปลว่า เมือง ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนมีประชากรหนาแน่นและเป็นแหล่งศูนย์รวมของส่วนราชการทั้งอำเภอ เป็นศูนย์กลางพาณิชย์ของอำเภอ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง ที่เชิงเขา มีภูเขาล้อมรอบตัดผ่านด้วยแม่น้ำลาวและแม่น้ำแม่ปูน

ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ตั้งอยู่ในท้องที่ บ้านกู่ บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 6 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 57170 อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้าไปทางทิศใต้ ประมาณ 1 กิโลเมตร, ห่างจากตัวจังหวัดเชียงรายประมาณ 98 กิโลเมตร
โทร. 053 - 653544, 053-648856
e-mail address : obtwiang@gmail.com
website : www.tambonwiang.com

เนื้อที่
พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียง มีเนื้อที่โดยประมาณ 207 ตารางกิโลเมตร หรือ 129,375 ไร่

ภูมิประเทศ
อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงรายห่างจากตัวจังหวัดเชียงรายประมาณ 98 กิโลเมตร
มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และ
อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

มีลักษณะภูมิประเทศ 2 ลักษณะคือ
1. พื้นที่ราบ และพื้นที่ลุ่ม มีการกระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน และมีหมู่บ้านละเล็กละน้อยเท่านั้น ส่วนมากการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าว พืชไร่(ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ) ไม้ผล พืชผัก และใช้เป็นที่อยู่อาศัย
2. พื้นที่สูงและพื้นที่ภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติไม่มีเอกสารสิทธิ ราษฎรใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล ได้แก่ พื้นที่หมู่ที่ 7 , 8 ,9 ของตำบลเวียง
- จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต.เวียง มีทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน
- ประชากร ประชากรทั้งสิ้น รวม 10,396 คน แยกเป็น ประชากรชาย จำนวน 5,343 คน
ประชากรหญิง จำนวน 5,053 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 50.22 คน / ตารางกิโลเมตร
จำนวนหลังคาเรือน 3,142 หลังคาเรือน

 
ข้อมูลสภาพทั่วไปในแต่ละประเด็นนโยบาย
เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา และเพื่อให้เห็นถึงสภาพทั่วไป ตลอดจนศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กล่าวคือ
 
1. ด้านเศรษฐกิจ

ประชากรของตำบลเวียง ประกอบอาชีพการเกษตร ร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ประกอบอาชีพค้าขาย , รับราชการ และอื่น ๆ รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร

การผลิตข้าว
- ข้าวนาปี มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 4,424 ไร่ กระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆทุกหมู่บ้าน การทำนา เกษตรกรทำนาดำทั้งหมด นิยมปลูกข้าวเหนียว กข.6 และข้าวเจ้ามะลิ 105 บ้างเล็กน้อยเท่านั้น
- ข้าวนาปรัง ข้าวนาปรังจะมีพื้นที่ปลูกหมู่ที่ 3,4,5,6 และหมู่ที่ 7 ข้าวที่ปลูกนาปรัง ได้แก่ ข้าวญี่ปุ่น พันธ์ วก.1 สุพรรณบุรี 1

พืชไร่
- พื้นที่ปลูกพืชไร่ของตำบลเวียง มีกระจายอยู่ทุกหมู่บ้านมีพื้นที่ทั้งตำบล ประมาณ 24,056 ไร่ ส่วนใหญ่เกษตรกรปลูก ข้าวโพดหวาน และปลูกขิง ส่วนถั่วแดงหลวง ถั่วลิสง มีการปลูกในช่วงฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปลายฤดูฝนบ้างแต่ไม่มากนัก

พืชสวน
- พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น มีทั้งตำบล กระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆในพื้นที่หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7, 9,11,12ไม้ผลที่ปลูกมาก ได้แก่ ลำไย มะม่วง ลิ้นจี่ ส่วนไม้ยืนต้นเศรษฐกิจที่ปลูกมาก คือ ต้นสักทอง

พืชผัก
ตำบลเวียงมีการปลูกผักมากแหล่งหนึ่งของอำเภอเวียงป่าเป้า ผักที่ปลูกได้แก่ ผักกาดเขียวปลี ,ผักกาดขาวปลี,มะเขือม่วง,ถั่วแขก, ผักป๋วยเล้ง,พริก และพื้นที่ปลูกได้แก่หมู่ที่ 1,3,6,7,9,12 มีการปลูกตลอดปีในพื้นที่หมู่ที่ 8 มีการปลูกผักในโครงการหลวงเช่น เชอรารี,ซารารี,กะหล่ำปลีสีม่วง

การเลี้ยงสัตว์
ส่วนมากมีการเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน ถ้าเหลือจึงไว้ขาย
- สัตว์เลี้ยง ได้แก่ ไก่ เป็ด ห่าน สุกร โค กระบือ
- สัตว์น้ำ ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก กบ

หัตถกรรมและสินค้าท้องถิ่นแต่ละหมู่บ้าน
- ในพื้นที่ตำบลเวียง มีหัตถกรรมและสินค้าท้องถิ่นที่ทำเพื่อจำหน่ายในพื้นที่ได้แก่ ข้าวแตนน้ำแตงโม หมู่ที่ 1 ,ข้าวกล้อง หมู่ที่ 3 ,ข้าวโพดหวาน – ฟูก หมู่ที่ 4 ,เครื่องดนตรีพื้นเมือง หมู่ที่ 5 แคบหมูไร้มัน ,น้ำยาล้างจานหมู่ที่ 6 ,ผ้าห่มนวม,น้ำปู หมู่ที่ 7 ,ผ้าทอไทลื้อ หมู่ที่ 10 ,ผ้าปักและผลิตภัณฑ์ชาวเขา หมู่ที่7,8,9,พืชผักโครงการหลวงหมู่ที่ 8 ,เครื่องจักสาน,เข่งบรรจุผัก หมู่ที่ 11 , ไม้กวาดดอกหญ้า,ไม้กวาดทางมะพร้าวหมู่ที่ 12 มีการรวมกลุ่มในการผลิตสินค้านำไปจำหน่ายภายในกลุ่ม ในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง

จุดเด่นของพื้นที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล

พื้นที่ตำบลเวียงติดทางหลวงแผ่นดินสายจังหวัดเชียงราย – เชียงใหม่ เป็นเส้นทางท่องเที่ยวหลัก มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติหลายแห่งที่เหมาะสำหรับการพัฒนา อาทิ เช่น

1. พื้นที่เหมาะแก่การพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้แก่
- วนอุทยานน้ำตกแม่โท หมู่ที่ 9
- หนองน้ำใส หมู่ที่ 1
2. พื้นที่เหมาะแก่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตร ได้แก่
- สวนแก้วมังกร หมู่ที่ 1
- วิถีชีวิตเกษตรการทำนา หมู่ที่ 5
- สวนมะละกอ , กล้วยหอม หมู่ที่ 5
3. พื้นที่เหมาะแก่การพัฒนาเป็น เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม ได้แก่
- วัดหนองยาว หมู่ที่ 4
- วัดอรัญวิเวกคีรี หมู่ที่ 7

 
2. ด้านการคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
ถนนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ แต่ยังมีบางส่วน เป็นถนนดินลูกรัง โดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล เช่น หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 ถนนที่ใช้เดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน ส่วนมากยังเป็นถนนลูกรัง การคมนาคมในช่วงฤดูฝน การสัญจรไป-มา ค่อนข้างลำบาก

แหล่งน้ำธรรมชาติ
1 แม่น้ำลาว ตำบลเวียง มีแม่น้ำไหลผ่าน หมู่ที่ 1 , 2 , 5 , 6, 7, 10 เป็นแม่น้ำสายหลักของการประกอบอาชีพการเกษตร แต่ฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำ
2 ห้วยเวียง ต้นกำเนิดหมู่ที่ 3 ไหลผ่านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 10 ไหลสู่แม่น้ำลาวในช่วยฤดูแล้งน้ำไม่พอเพียงจะสามารถใช้ได้ เฉพาะหมู่ที่ 3 เท่านั้น
3 อ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว คลองส่งน้ำของอ่างไหลผ่านหมู่ที่ 7 , หมู่ที่ 1 สามารถใช้ในการเพาะปลูกพืชได้ทั้งปี
4 ลำห้วยแม่ปูน เป็นลำห้วยธรรมชาติไหลผ่าน หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 1 มีพื้นที่การเกษตร มีปริมาณน้ำน้อยมาก เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขา ขาดแคลน น้ำ เพื่อทำการเกษตร

การไฟฟ้า
การให้บริการด้านไฟฟ้าในองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ดำเนินงานโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจากแหล่งผลิต สำหรับพื้นที่ ที่เป็นภูเขา ส่วนใหญ่ใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

การประปา
การประปาในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นประปาบาดาล ส่วนประปาผิวดินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านหนองยาว และ ประปาภูเขา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 บ้านแม่ปูนหลวง และหมู่ที่ 9 บ้านแม่ปูนล่าง
 
3. ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม


ระดับการศึกษาสูงสุด ( ไม่รวมที่กำลังศึกษาอยู่ )

- ไม่ได้รับการศึกษา คิดเป็น 10 % ของประชากรทั้งหมด
- ระดับประถมศึกษา คิดเป็น 27 % ของประชากรทั้งหมด
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็น 16 % ของประชากรทั้งหมด
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็น 8 % ของประชากรทั้งหมด
- ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า คิดเป็น 5 % ของประชากรทั้งหมด
- ระดับปริญญาตรี คิดเป็น 2 % ของประชากรทั้งหมด

สถานศึกษา
1. โรงเรียนประถมศึกษา ในเขต อบต. มีจำนวน 1 แห่ง คือ
1.1 โรงเรียนบ้านหนองยาว

2. โรงเรียนประถมศึกษา –ม.ต้น ในเขต อบต. มีจำนวน 2 แห่ง
2.1 โรงเรียนบ้านแม่ปูนหลวง , โรงเรียนบ้านแม่ปูนหลวง สาขาสามกุลา
2.2 โรงเรียนดอยเวียงผาบ้านปางปู่สิงห์

3. โรงเรียนในสังกัดการศึกษานอกโรงเรียน มีจำนวน 4 แห่ง คือ
3.1 บ้าน แม่ปูนน้อย ( มูเซอ)
3.2 บ้านห้วยทราย
3.3 บ้านแม่โท
3.4 บ้านห้วยมะเดื่อ

4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีจำนวน 3 แห่ง คือ
4.1 ศพด.บ้านหนองยาว
4.2 ศพด.บ้านดงหล่ายหน้า
4.3 ศพด.บ้านแม่ปูนหลวง
4.4 ศพด.บ้านแม่ปูนล่าง

5. โรงเรียนมัธยมศึกษา ม.ต้น – ม.ปลาย มีจำนวน 1 แห่ง คือ
1.โรงเรียนเวียงป่าเป้าวิทยาคม

จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า การจัดการศึกษาใน อบต. เวียง ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์จุดอ่อน และอุปสรรคที่มีต่อการจัดการศึกษา ในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ปริมาณบุคลากรต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน , ขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรลดลง , บุคคลากรมีปริมาณงานมากทั้งภารกิจหลัก และภารกิจรอง , อาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และเสื่อมสภาพคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแตกต่างกัน

สถาบันและองค์การศาสนา

วัดในเขต อบต. มีจำนวน 2 แห่ง คือ
1.วัดอรัญวิเวคคีรี หมู่ที่ 7
2.วัดหนองยาว หมู่ที่ 4

สำนักสงฆ์ มีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สำนักสงฆ์บ้านโป่งหนอง
หมู่ที่ 3, สำนักสงฆ์บ้านห้วยมะเดื่อ หมู่ที่ 7,สำนักสงฆ์บ้านแม่ปูนล่าง หมู่ที่ 9
โบสถ์ มี 6 แห่ง ได้แก่ โบสถ์คริสตจักรบ้านโป่งหนอง หมู่ที่ 3 ,

โบสถ์คริสตจักรบ้านป่าบง หมู่ที่ 5 ,โบสถ์คริสตจักร บ้านกู่ หมู่ที่ 6,
โบสถ์คริสตจักรบ้านแม่ปูนหลวง หมู่ที่ 8, โบสถ์คริสตจักรบ้านแม่ปูนล่าง หมู่ที่ 9,
โบสถ์คริสตจักรบ้านศรีเวียงทอง หมู่ที่ 10

จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์จักร และยังมีวัฒนธรรมของชาวล้านนา และวัฒนธรรมประจำเผ่า ของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ

 
4. ด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
 
จากข้อมูลด้านประชากรของสำนักบริหารการลงทะเบียน กรมการปกครอง ในปี 2551 องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 10,396 คน เป็นหญิง 5,053 เป็นชาย 5,343 คน ทั้งนี้ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะช่วงอายุ 60 – 80 ปี ขึ้นไป

สาธารณสุข
1.โรงพยาบาลของรัฐขนาด 60 เตียง จำนวน 1 แห่ง
2. สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
3. สถานพยาบาลเอกชน จำนวน - แห่ง
4. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน - แห่ง
5. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 98

ข้อมูลด้านสวัสดิการสังคม
- เด็กกำพร้า / ถูกทอดทิ้ง / เร่ร่อน คิดเป็น 0.8 %
- เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ คิดเป็น 0.2 %
- ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง คิดเป็น 1.5 %
- คนพิการที่ช่วยเหลือตัวเองได้ คิดเป็น 0.3 %
- คนพิการที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ คิดเป็น 0.2 %
- คนปัญญาอ่อน คิดเป็น 0.2 %

ข้อมูลรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน
- รายได้เฉลี่ย จากการประกอบอาชีพทุกประเภทรวมกันต่อปี ประมาณ 10,000- 19,999 บาท
- รายจ่ายเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 10,000 บาท ขึ้นไป
- จำนวนครัวเรือนที่ยากจน จำนวน 45.47 % ของครัวเรือนทั้งหมด
จากข้อมูลดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นว่า ประชากรส่วนใหญ่ยังมีฐานะที่ยากจน

 
5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
แหล่งน้ำธรรมชาติ
1. แม่น้ำลาว ตำบลเวียง มีแม่น้ำไหลผ่าน หมู่ที่ 1 , 2 , 5 , 6, 7, 10 เป็นแม่น้ำสายหลักของการประกอบอาชีพการเกษตร แต่ฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำ
2. ห้วยเวียง ต้นกำเนิดหมู่ที่ 3 ไหลผ่านหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 10 ไหลสู่แม่น้ำลาวในช่วยฤดูแล้งน้ำไม่พอเพียงจะสามารถใช้ได้ เฉพาะหมู่ที่ 3 เท่านั้น
3. อ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว คลองส่งน้ำของอ่างไหลผ่านหมู่ที่ 7 , หมู่ที่ 1 สามารถใช้ในการเพาะปลูกพืชได้ทั้งปี
4. ลำห้วยแม่ปูน เป็นลำห้วยธรรมชาติไหลผ่าน หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 1 มีพื้นที่การเกษตร มีปริมาณน้ำน้อยมาก เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขา ขาดแคลน น้ำ เพื่อทำการเกษตร

ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
1) การรวมกลุ่มของประชาชน อำนวยกลุ่มทุกประเภท 33 กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม
กลุ่มอาชีพ - เลี้ยงสัตว์ จำนวน 5 กลุ่ม
- หัตถกรรม จำนวน 4 กลุ่ม
- เกษตร จำนวน 11 กลุ่ม
กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 11 กลุ่ม
กลุ่มอื่น ๆ จำนวน 2 กลุ่ม

จุดเด่นในการพัฒนาท้องถิ่น
1. บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ๖ ประการ คือ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใสตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วม หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการบริหารงานขององค์กร
2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เช่น ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล ,แต่งตั้งประชาคมหมู่บ้านร่วมเป็นคณะกรรมการในการจัดซื้อ / จัดจ้าง , จัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนมีร่วมในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านในเบื้องต้นอย่างรวดเร็วและทั่วถึง , ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดงานประเพณีท้องถิ่น เช่น งานสืบสานประเพณีปี๋ใหม่เมือง , งานสืบสานประเพณียี่เป็ง เป็นต้น
3. พัฒนาด้านเศรษฐกิจพื้นฐานให้ประชาชนมีรายได้ทั่วถึงพึ่งพาตนเองได้ ได้แก่ การสนับสนุนงบประมาณส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มอาชีพในพื้นที่ , ก่อสร้างศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับสินค้าของกลุ่มอาชีพ, พัฒนาองค์ความรู้ของประชาชน เป็นต้น

 
ข้อมูลพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง
 
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
ตามนโยบายด้านเศรษฐกิจ อบต.เวียง เน้นการลดต้นทุนทางภาคเกษตร โดยจัดหาแหล่งทุน การจัดหาเมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ยาในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด และส่งเสริมศูนย์เทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลเวียง จัดให้มีการอบรม ให้ความรู้อย่างถูกต้องแก่เกษตรกร และความรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในเรื่องการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ในครัวเรือน ทาง อบต.เวียงได้สนับสนุนงบประมาณ ในการให้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ และพัฒนาขีดความสามารถในการทำวิสาหกิจชุมชน ร้านค้าชุมชน และ อบต.เวียง ได้สร้างศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับสินค้าของกลุ่มอาชีพ

ข้อมูลพื้นฐานด้านการคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน
ตามนโยบายด้านการคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน อบต.เวียง มีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนมีการคมนาคมที่สะดวก และรวดเร็ว มีความปลอดภัย ซึ่งถนนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ แต่ยังมีบางส่วนเป็นถนนดินลูกรัง โดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล เช่น หมู่ 8 และหมู่ 9 ถนนที่ใช้เดินทางเข้าสู่หมู่บ้านส่วนมากยังเป็นถนนลูกรัง การคมนาคมในช่วงฤดูฝนสัญจรไป – มา ค่อนข้างลำบาก โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประมาณปีละ 7,000,000 บาท ในลักษณะการจ้างเหมา เนื่องจาก อบต. ไม่มีเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงาน ที่มีความชำนาญในการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานในเขต อบต. ที่เพียงพอ

ส่วนทางด้านสาธารณูปโภค อบต.เวียงก็มุ่งพัฒนาให้ในพื้นที่ อบต.เวียง มีไฟฟ้า และน้ำใช้ อย่างทั่วถึง ซึ่งการให้บริการด้านไฟฟ้าดำเนินงานโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หมู่ 8 และ หมู่ 9 ซึ่งเป็นพื้นที่บนภูเขา ใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และการประปาพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประปาบาดาล มีประปาผิวดินขนาดใหญ่ อยู่ที่หมู่ 4 แต่ใช้ได้ หมู่ 4 , 5 , 12 และประปาภูเขา มีที่ หมู่ 8 และ หมู่ 9

ข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา และวัฒนธรรม
ตามนโยบายด้านการศึกษาและวัฒนธรรม อบต.เวียง เน้น “คน” เป็นศูนย์กลาง พัฒนาควบคู่ไปกับการส่งเสริมการศึกษา และอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ในความดูแล 3 ศูนย์ มีครูผู้ดูแลเด็ก 5 คน ต่อจำนวนนักเรียน 87 คน ซึ่งอาคารสถานที่ยังไม่เหมาะสม และครูผูดูและเด็กยังขาดความรู้ความชำนาญในการดูแลเด็ก

การส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา ทางอบต.เวียง ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองยาว โครงการคุณธรรม จริยธรรมเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยร่วมกับโรงเรียนและวัดในพื้นที่ โดยมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 300 คน โครงการปฏิบัติธรรมในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา โดยการหมุนเวียนไปวัดในพื้นที่ทุกวันพระ ตลอดช่วงเข้าพรรษาโดยมีพนักงานและชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมโครงการประมาณ ครั้งละ 60 คน

การส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ทาง อบต.เวียง ได้จัดทำโครงการประเพณียี่เป็ง และประเพณีปี๋ใหม่เมือง เป็นประจำทุกปี โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 600 คน และมีการอุดหนุนงบประมาณประเพณีกินวอ ของชาวเขาเผ่ามูเซอ ของ หมู่ 8, 9 เป็นประจำทุกปี และส่งพนักงานเข้าร่วมงาน โดยมีพนักงานและชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 500 คน

ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต อบต.เวียงเน้นการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน ใน ต.เวียงให้ดีขึ้น และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ก็มีตำรวจบ้าน จำนวน 50 นาย และ อปพร. จำนวน 87 นาย เข้าสำรวจตรวจตราพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน โดยจัดเวรผลัดเปลี่ยนกัน โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนตำรวจบ้านเป็น 110 นาย และ เพิ่มจำนวน อปพร. เป็น 150 นาย โดยจะมีการอบรมสำหรับผู้ที่สมัครใหม่ และอบรมทบทวนสำหรับสมาชิกเดิม

ด้านสุขภาพ ทาง อบต.ก็ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกาย และการจัดการแข่งขันกีฬา โดยได้สนับสนุนงบประมาณ และส่งพนักงานเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา เป็นประจำทุกปี ทั้งกีฬาท้องถิ่นระหว่าง ประชาชน – นักเรียน กีฬากระชับความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นในเขต อำเภอเวียงป่าเป้า โดยแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 600 คน ทางด้านสุขภาพอนามัย ตามข้อมูล จปฐ. จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,829 ครัวเรือน มีครัวเรือนได้กินอาหารมีที่ไม่มีคุณภาพได้มาตรฐาน จำนวน 524 ครัวเรือน และครัวเรือนไม่มีความรู้การใช้ยาถูกต้องเหมาะสม จำนวน 353 ครัวเรือน และยังมีคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ จำนวน 820 คน

ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ จำนวนผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการที่ยังขาดความช่วยเหลือ ประมาณ 60 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ยังขาดความช่วยเหลือ ประมาณ 350 คน

ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน อาศัยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตามข้อมูล จปฐ. คนอายุ 18 – 60 ปี จำนวน 3,765 คน มีอาชีพและมีรายได้ผ่านเกณฑ์ 3,532 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ 233 คน ครัวเรือน จำนวน 1,829 ครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี/คน ผ่านเกณฑ์จำนวน 1,597 ครัวเรือน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 232 ครัวเรือน และครัวเรือนที่มีการเก็บออมเงิน ผ่านเกณฑ์ 1,602 ครัวเรือน ไม่ผ่านเกณฑ์ 227 ครัวเรือน

ข้อมูลพื้นฐานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบต.เวียง เน้นการพัฒนาซึ่งครอบคลุมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความน่าอยู่และมีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องการกำจัดขยะ การปลูกป่าชุมชน กิจกรรมบวชป่า การทำแนวป้องกันไฟป่า ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีการฝึกอบรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกปี ปีละ 110 คน

ข้อมูลพื้นฐานด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นโยบายด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อบต.เวียง มีหลักการทำงาน โดยมุ่งไปที่ให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถดูแลตัวเองได้ อบต.เวียงจึงมีความพยายามที่จะกระจายอำนาจลงสู่ชุมชนและประชาชน ซึ่งเริ่มจากการจัดทำแผนชุมชน ของแต่ละหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยไม่คำนึงถึงว่าชาวบ้านคนนั้นจะมีความรู้หรือไม่ แต่จะถือคติว่า “ปัญหาของใคร คนนั้นต้องแก้” คือ คนที่รู้ปัญหาที่แท้จริง คือ คนที่เจอปัญหากับตัวเอง จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมาก เพราะเขาจะคิดว่านี่คือแผนของเขาเอง จะทำให้การจัดทำแผนและการลำดับความสำคัญของแผนตรงกับความต้องการของประชาชน และแก้ปัญหาถูกจุด มีการวางแผนร่วมกัน รวมไปถึงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล เป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง กรรมการตรวจรับงานจ้าง และมีการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ในทุกปีจะมีการจัดอบรมประชาธิปไตย

ในการบริหารงาน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงาน โดยเน้นการทำงานเป็นทีมและเน้นความสามัคคี นอกจากนี้ ใน อบต.เวียงจะมีการประชุมพนักงานประจำเดือน ทุกเดือน เพื่อเป็นการรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และสรุปผลการทำงานของแต่ละส่วน ใน อบต.เวียง และยังมีโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการให้บริการ สำหรับ พนักงานและลูกจ้าง ใน อบต.เวียง เป็นประจำทุกปี
 
ไม่พบหน้าเว็บไซต์ที่เปิดดู
 


สถิติการใช้งาน : วันนี้ 209 ครั้ง | เดือนนี้ 4,321 ครั้ง | ปีนี้ 69,291 ครั้ง | ทั้งหมด 69291 ครั้ง
เลขที่ 103 หมู่ที่ 6 บ้านกู่ ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 57170
โทร. 053-781955,053-648856 แฟกซ์ : 053-781945
เว็บไซต์แห่งนี้รองรับการแสดงผลได้ดี ที่ขนาดจอภาพ 1024 x 800 พิกเซล 
Copyright © 2016 www.twiang.go.th All Rights Reserved.   Design by Chiangrai Enter Soft    

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น